เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ศาลแห่งนี้ได้กลายเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในปัตตานีมาช้านาน ตั้งแต่สมัยโบราณ ผู้คนที่ประสบปัญหาทางร่างกาย เช่น เจ็บป่วย หรือธุรกิจไม่เจริญรุ่งเรือง ก็มักเดินทางไปขอพรจากเจ้าแม่ เพื่อลุ้นโชคจากเซียมซีหรือขอพรเพื่อให้ชีวิตกลับมาดีขึ้น เรื่องราวการขอพรจากเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวได้มีอยู่เสมอตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ประวัติความเป็นมาของท่าน
ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นน้องสาวของลิ้มโต๊ะเคี่ยม ซึ่งเป็นโจรสลัดจากประเทศจีนในสมัยราชวงศ์หมิงที่มาตั้งถิ่นฐานในอาณาจักรปัตตานีในช่วงศตวรรษที่ 16 แม้จะไม่มีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่าเธอมีตัวตนจริงหรือไม่ และชื่อของเธอก็ยังไม่ชัดเจน (กอเหนี่ยว แปลว่า "พรหมจารี" หรือ "หญิงสาว") ข้อมูลบางแหล่งกล่าวว่า เธอชื่อว่า สี่เจิน แต่บางแหล่งกล่าวว่าเธอใช้ชื่อว่า จินเหลี่ยน ตามบันทึกของลิ้มโต๊ะเคี่ยมที่ออกจากไต้หวัน ตำนานเล่าว่า เมื่อแม่ของเธอป่วย ลิ้มกอเหนี่ยวจึงเดินทางไปหาลิ้มโต๊ะเคี่ยม
ลิ้มกอเหนี่ยวสาบานว่าจะไม่กลับบ้านจนกว่าจะนำพี่ชายกลับมา เมื่อเธอพบลิ้มโต๊ะเคี่ยมที่ปัตตานี เขากำลังแต่งงานกับพระราชธิดาของสุลต่านและได้เปลี่ยนศาสนาเข้ารับอิสลาม รวมทั้งกำลังก่อสร้างมัสยิดให้ราชินี แต่เขากลับปฏิเสธที่จะกลับบ้าน ทำให้ลิ้มกอเหนี่ยวรู้สึกน้อยใจและตัดสินใจฆ่าตัวตายโดยการแขวนคอบนต้นมะม่วงหิมพานต์ ก่อนที่เธอจะจากไป เธอสาปแช่งมัสยิดที่พี่ชายสร้างไว้ (ซึ่งเชื่อว่าเป็นมัสยิดกรือเซะ) ว่าจะไม่มีวันเสร็จสมบูรณ์
คำสาปของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวเป็นจริงตามที่เธอสาปไว้ เพราะเมื่อมัสยิดใกล้จะเสร็จสิ้นกลับต้องพังลงถึง 3 ครั้ง จนทำให้ลิ้มโต๊ะเคี่ยมรู้สึกท้อและหยุดการก่อสร้างไป ท่ามกลางความเศร้าโศก ชาวจีนท้องถิ่นในยุคหลังได้สร้างรูปสลักจากต้นไม้ที่เธอแขวนคอ และตั้งศาลเจ้าขนาดเล็กขึ้นเพื่อเคารพและแสดงความกตัญญู รวมถึงความรักชาติที่มีต่อประเทศจีน

มีการกล่าวขานว่า พี่ชายของลิ้มกอเหนี่ยวได้สร้างสุสานใกล้กับมัสยิดกรือเซะในปี ค.ศ. 1574 แต่บางข้อมูลบอกว่าอาจจะถูกสร้างในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 จากการเชื่อกันว่า หลุมศพของลิ้มกอเหนี่ยวอยู่ใกล้กับท่าเรือ แต่ถูกน้ำทะเลท่วมจนต้องย้ายสุสานไปไว้ข้างมัสยิดกรือเซะในปี ค.ศ. 1919
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ขอพรเรื่องใดบ้าง
โดยทั่วไปแล้วผู้ที่เจ็บป่วย หรือกำลังเผชิญกับความเดือดร้อนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม หากไปบูชาที่ศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ก็จะได้รับการรักษาให้หายจากโรคภัยและพ้นจากความเดือดร้อนได้
มีเรื่องเล่าว่า คุณพระจีนคณานุรักษ์ หัวหน้าคนจีนในเมืองปัตตานีได้ป่วยเป็นโรคหนึ่งที่ไม่หายแม้จะรักษากับหมอหลวงมานานไม่หาย เมื่อไม่รู้จะหันไปพึ่งใครแล้ว จึงได้ไปขอพรกับพระเซ๋าซูกง หรือที่รู้จักกันในชื่อของพระหมอ ซึ่งท่านได้แนะนำให้คุณพระจีนคณานุรักษ์ไปขอพรกับเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวถึงจะหายจากโรคดังกล่าว
หรือเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวปัตตานีและจังหวัดอื่นๆ ทั่วไป ผู้ใดมีเรื่องทุกข์ร้อนก็มักจะไปขอให้เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวช่วย หรือถ้าต้องการทราบเรื่องเกี่ยวกับกิจการค้าขายว่าจะกำไรหรือขาดทุนก็ไปเสี่ยงทายล่วงหน้าโดยวิธีเขย่าไม้เซียมซี แล้วไปดูคำทำนายในใบเซี่ยมซีซึ่งมีตัวเลขตรงกัน จะทำให้ทราบได้ว่าจะมีโชคหรือไม่ ถ้าเจ็บไข้ได้ป่วยก็ขอสลากยาจากเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยวแล้วนำไปซื้อตัวยาจากร้านขายยามาต้มรับประทานกัน
เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ปัตตานี
การสักการะลิ้มกอเหนี่ยวเริ่มเผยแผ่นอกพื้นที่ปัตตานีในปี 1950 และศาลเจ้าในปัตตานีกลายเป็นจุดดึงดูดนักท่องเที่ยวสำหรับผู้ที่มาจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์มาตั้งแต่ปี 1960 เป็นต้นมา

เจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว เทศกาล
งานเทศกาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว จัดขึ้นทุกปีที่จังหวัดปัตตานี โดยเริ่มต้นในวันปีใหม่จีนในวันที่ 14 กุมภาพันธ์ของทุกปี ต่อมาในวันที่ 15 ชาวบ้านจะยกภาพไม้ของลิ้มกอเหนี่ยวกับเทวรูปอื่นๆ ให้ผู้คนในย่านต่างๆ สักการะ ภาพเหล่านี้จะถูกยกข้ามแม่น้ำปัตตานีผ่านการแช่ในน้ำ และในวันต่อมา ผู้ที่ถือก็จะเดินลุยไฟนั่นเอง
เรื่องราว : ตำนานของเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว, pattaniheritagecity