
อัปเดตล่าสุดปี 2566 เมื่อบัตรประชาชนหายต้องทำอย่างไร? จำเป็นต้องแจ้งความหรือไม่? และเอกสารที่ต้องใช้สำหรับการทำบัตรใหม่มีอะไรบ้าง
บัตรประจำตัวประชาชนไทยเป็นเอกสารที่รัฐออกให้สำหรับผู้มีสัญชาติไทยที่มีอายุระหว่าง 7 ถึง 70 ปี โดยเริ่มใช้ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2486 ในยุคจอมพล ป. พิบูลสงคราม เดิมกำหนดให้ผู้ที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์สามารถทำบัตรได้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2526 ลดอายุเหลือ 15 ปี และในปี พ.ศ. 2554 ลดเหลือ 7 ปี
บัตรประชาชนใช้เพื่อยืนยันตัวตนและรับบริการจากภาครัฐ รวมถึงธุรกิจเอกชนบางประเภท เช่น การเปิดเบอร์โทรศัพท์หรือบัญชีธนาคาร ดังนั้น หากบัตรประชาชนหาย ควรดำเนินการทำบัตรใหม่โดยเร็วที่สุด และสำหรับผู้ที่บัตรหาย เรามีขั้นตอนการทำบัตรใหม่มาบอกต่อ
กรณีบัตรประชาชนหาย จำเป็นต้องแจ้งความหรือไม่
คำตอบ ไม่จำเป็นต้องแจ้งความ
แต่ต้องเตรียมเอกสารสำคัญคือ “สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน” หากคุณเป็นเจ้าบ้าน ให้ไปที่สำนักงานเขตที่ทะเบียนบ้านตั้งอยู่ แต่ถ้าเป็นผู้อยู่อาศัย ให้ใช้สำเนาทะเบียนบ้านเพื่อยื่นขอทำบัตรประชาชนใหม่ได้ที่สำนักงานเขตหรืออำเภอที่ออกบัตร
กรณีบัตรประชาชนหาย สามารถทำใหม่ได้ที่ไหนบ้าง
หากบัตรประชาชนหายหรือเสียหาย สามารถติดต่อทำใหม่ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งความเหมือนในอดีต โดยสามารถไปติดต่อได้ที่
- สำนักงานเขต
- สำนักงานเทศบาล
- สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง
- ที่ว่าการอำเภอ
(ไม่จำเป็นต้องไปที่สำนักงานเขตตามทะเบียนบ้าน สามารถยื่นขอได้ที่สำนักงานเขตหรือที่ว่าการอำเภอทุกจังหวัดทั่วประเทศ)
กรณีบัตรประชาชนหาย ต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง
- เตรียมเอกสารสำคัญ เช่น สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารราชการที่มีรูปถ่าย เช่น ใบขับขี่ ใบสุทธิ หรือพาสปอร์ต
- หากไม่มีเอกสารดังกล่าว สามารถให้เจ้าบ้านหรือบุคคลที่น่าเชื่อถือที่มีอายุเกิน 20 ปีมารับรองแทนได้
ค่าธรรมเนียมในการทำบัตรประชาชนใหม่กรณีหายคือเท่าไร
- ค่าธรรมเนียมการทำบัตรใหม่ 20 บาท
-
กรณีบัตรหาย ชำรุด แก้ไขชื่อ-สกุล หรือย้ายที่อยู่ เสียค่าธรรมเนียม 100 บาท
- หากทำบัตรใหม่เกิน 60 วันนับจากวันที่หาย จะมีค่าปรับ 100 บาท
หากบัตรประชาชนหาย จะไม่สามารถยื่นขอทำบัตรใหม่ผ่านจุดบริการในห้างสรรพสินค้า/BTS หรือ BMA Express Service ได้